ภาษาไทย | English

หมวดหนังสือ -> ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ -> เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี



อ่านหนังสือ  ยืมหนังสือ
ผู้แต่ง คณะกรรมการวิชาเศรษฐศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี ศูนย์วิชาบูรณาการ หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
สำนักพิมพ์ สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชนิดหนังสือ­ หนังสือลิขสิทธิ์สำนักพิมพ์
หมวดหนังสือ­ ธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการจัดการ
หัวเรื่อง -
รหัสหนังสือ­ 02006843
เลข ISBN 9789749934678
ปีที่นำเข้า 2017-11-10
จำนวนหน้า 322
รายละเอียด เนื้อหาวิชา "เศรษฐศาสตร์เพื่อการดำเนินชีวิตที่ดี" แบ่งออกเป็น 12 บท สรุปโดยย่อได้ดังนี้ บทที่ 1 เป็นการเกริ่น นำถึงการบูรณาการมิติทางเศรษฐศาสตร์กับการดำเนินชีวิตที่ดี ทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของเศรษฐกิจระดับต่างๆ ต่อการดำเนินชีวิตที่ดี และการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่างๆ ทางเศรษฐกิจที่มีต่อการดำเนินชีวิตที่ดี บทที่ 2 เป็น การอธิบายความเป็นมนุษย์และบทบาทในสังคมเศรษฐกิจ และการดำเนินชีวิตของมนุษย์ในสังคมเศรษฐกิจ บทที่ 3 ครอบ คลุมแนวคิดเบื้องต้นว่าด้วยเศรษฐศาสตร์ ปัญหาเศรษฐกิจขั้นพื้นฐานและความสัมพันธ์กับระบบเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์กระแสหลักและกระแสทางเลือก บทที่ 4 เป็น การอธิบายถึงองค์กรและกิจกรรมในแบบจำลองระบบเศรษฐกิจเบื้องต้น ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กร กิจกรรมและการทำงานของระบบเศรษฐกิจเบื้องต้นในระดับชุมชนและขยายไปสู่ระดับ ประเทศ ความเชื่อมโยงระหว่างองค์กรและกิจกรรมทางเศรษฐกิจกับการดำรงชีวิตที่ดี บทที่ 5 กล่าวถึงรูปแบบเศรษฐกิจสำคัญในปัจจุบัน จากเศรษฐกิจการแข่งขันไปสู่เศรษฐกิจอีกด้านหนึ่งที่เน้นความเป็นเศรษฐศาสตร์ ความร่วมมือ รวมทั้งรูปแบบร่วมสมัย เช่น เศรษฐกิจพอเพียง เป็นต้น บทที่ 6 และ บทที่ 7 ชี้ให้เห็นถึงเศรษฐกิจระดับต่างๆ ทั้งในเศรษฐกิจระดับชุมชนและสังคม และระดับครัวเรือน ตามลำดับ และครอบคลุมประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง เช่น การจัดการเศรษฐกิจ การสร้างความร่วมมือ แนวคิดพื้นฐานด้านรายได้ ค่าใช้จ่าย การออม และการกู้ยืมของครัวเรือน บทที่ 8 กล่าวถึง ปัจจัย องค์ประกอบ เงื่อนไขต่างๆ ที่มีความสำคัญ ตลอดจนสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่สำคัญของสังคมไทย บทที่ 9 เป็นการอธิบายองค์ประกอบทางธุรกิจ การบริหารและหน้าที่ต่างๆ ที่สำคัญในองค์การธุรกิจ และการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพได้ บทที่ 10 ศึกษาถึง ความหมาย บทบาท ประเภท คุณสมบัติของผู้ประกอบการ และการจัดทำแผนธุรกิจ บทที่ 11 ความเข้าใจในที่มา ความหมายของจริยธรรมและธรรมาภิบาล และบทบาทของจริยธรรมและธรรมาภิบาลในการดำเนินชีวิตที่ดี ครอบคลุมทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและสังคม ในบทสุดท้ายคือ บทที่ 12 เป็นการยกประเด็นร่วมสมัยที่สำคัญและควรรู้ในทาง เศรษฐศาสตร์และการจัดการ ได้แก่ โลกาภิวัตน์ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลิตภาพแรงงาน การเพิ่มผลผลิตกับความสามารถในการแข่งขัน มูลค่าเพิ่มและนวัตกรรม ตลอดจนวิเคราะห์บทบาทและความสัมพันธ์ของประเด็นเหล่านี้กับการดำเนินชีวิต ที่ดีของมนุษย์
 

คะแนนหนังสือ :
  ให้คะแนน
แสดงความเห็น
หัวข้อ
รายละเอียด
 
 
 
     แสดงความเห็น

18.97.14.90